สอบถามและจองค่ายหว้ากอ
ฐานพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ไทยกับดาราศาสตร์
จำนวนผู้เข้าชม : 1391 คน

 

เป็นนิทรรศการที่ััแสดงและให้ความรู้เรื่องพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ไทยที่สนพระทัยด้านดาราศาสตร์เปิดให้บริการศึกษาฐานการเรียนรู้ และบริการศึกษาตามอัธยาศัย ท่านสามารถเข้าชมนิทรรศการและใช้บริการศึกษาฐานการเรียนได้ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ซึ่งเนื้อหา ภายในนิทรรศการ แบ่งออกเป็น 3 โซน ได้แก่

โซนที่ 1 สมัยสุโขทัย 
จัดแสดงหลักศิลาจารึก (จำลอง) หลักที่ 4 วัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งจารึกถึงพระปรีชาสามารถด้านดาราศาสตร์ของ พญาลิไทที่ได้ทรงปรับปรุงแก้ไขศักราชจนสามารถประกอบเป็นปฏิทินสำเร็จรูปได้

โซนที่ 2 สมัยอยุธยา 
จัดแสดงความสนพระทัยด้านดาราศาสตร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช วิทยาการด้านดาราศาสตร์ สิ่งก่อสร้างที่เป็นหลักฐาน แสดงให้เห็นว่าเป็นยุค เริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าด้านดาราศาสตร์ในประเทศไทย เช่น หอพิสัยศัลลักษณ์,หอดูดาววัดสันเปาโล, ภาพแกะสลักไม้ของชาวฝรั่งเศสบันทึก เหตุการณ์ขณะทรง กล้องทอดพระเนตรการเิกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 11 ธ.ค. พ.ศ.2228 ณ พระที่นั่งทะเลชุบศร เมืองลพบุรี และภาพเีขียนของ ชาวฝรั่งเศสบันทึกเหตุการณ์ขณะทรงทอดพระเนตรการเิกิดสุริยุปราคาบางส่วน ในวันที่ 30 เม.ย. พ.ศ.2231 ณ พระที่นั่งไกรสรสีหราช เป็นต้น

โซนที่ 3 สมัยรัตนโกสินทร์ 
ในยุครัตนโกสินทร์ มีพระมหากษัตริย์และราชวงศ์หลายพระองค์ทรง สนพระทัยด้านดาราศาสตร์ เช่น 
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ โปรดเกล้าฯ ให้พระยา ธรรมปรีชา (แก้ว) เรียบเรียงความรู้ทางดาราศาสตร์ และให้นิยาม ของจักวาลพร้อมกับกำหนดขนาดของโลกธาตุสัมพันธ์กับจำนวน ของจักรวาลขึ้น ในคัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 
มีหลักฐานที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพทางดาราศาสตร์ เช่น การ สถาปนา เวลามาตราฐานขึ้นในประเทศไทย ทรงสร้างและปรับปรุงหอดูดาวและ ทรงคำนวณว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทยในวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยทรง คำนวณพยากรณ์ล่วงหน้าถึง 2 ปี ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
สมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบรมราชชนนี
ทรงสนพระทัยวิชาดาราศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง ความสนพระทัยวิชา ดาราศาสตร์ของพระองค์ ปรากฏให้เห็นชัดเจน จากการที่ทรงให้ช่าง ออกแบบแกะไม้กลุ่มดาวฤกษประดับไว้ที่ราวไม้เฉลียง และตกแต่ง เพดานห้องโถงพระตำหนักดอกตุงเป็นรูปกลุ่มดาวต่าง ๆ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
 รัชกาลที่ 9
ทรงสนพระทัยดาราศาสตร์มาตั่งแต่ทรงพระเยาว์ ดังพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ หนังสือชื่อ "เวลาเป็นของมีค่า" ตอนหนึ่งว่า "ในการเรียนดาราศาตร์ ลูกชายคนเล็ก ของแม่ยังมีแผนที่ท้องฟ้า ชนิดหมุนได้ ไว้ตั้งตามวันที่และเดือนเพื่อจะได้ทราบว่าจะเห็นดาว อะไรในวันนั้น"

 
 
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย :: นางมานิดา ใกล้า /น.ส.นบกมล เริญยิ่ง