คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน

การใช้และการเก็บรักษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
1.การดูแลรักษาความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์

การดูแลรักษาความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีเคล็ดลับดังต่อไปนี้
1.1 ฝุ่นละออง หลีกเลี่ยงการติดตั้งคอมพิวเตอร์ในบริเวณที่มีฝุ่น ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรเปิดเครื่องมาทำความสะอาดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง (ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่นั้นๆ)
1.2 ความร้อน  เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์รวน และแฮงค์ ได้ง่าย ๆ ควรติดตั้งให้ห่างกำแพงอย่างน้อย 15 ซม. และทางที่ดีควรติดตั้งในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
1.3 น้ำ ความชื้น ตัวการที่ทำให้คอมพิวเตอร์เสียหายอย่างรุนแรง
1.4 ไวรัส ปัญหาที่มักมาจากการใช้งาน อีเมล์ และอินเทอร์เน็ต
1.5 ถอดถอนโปรแกรมที่ไม่จำเป็นออก เพื่อเพิ่มพื้นที่ของที่เก็บข้อมูล
1.6 Updated โปรแกรม Windows, Anti-Virus อย่างสม่ำเสมอ ถ้าให้ดีควรติดตั้งโปรแกรมประเภท Firewall
1.7 สำรองข้อมูล เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลอันมีค่าของคุณ การสำรองข้อมูลอาจสำรองในฮาร์ดดิสก์คนละลูก (ถ้ามี) หรืออาจสำรองลงสื่อภายนอก เช่น CD-RW, Tape เป็น
1.8 พื้นที่เก็บข้อมูล หรือ ฮาร์ดดิสก์ ควรมีการตรวจสอบพื้นที่ในการทำงานของ Hard Disk โดยเริ่มด้วยการใช้โปรแกรม Disk Cleanup, Scandisk และ Disk Defragmenter ซึ่งมีผลทำให้เครื่องคอมฯ ทำงานได้ดีและเร็วขึ้น

2.การดูแลรักษาซีพียู
การดูแลรักษาซีพียู (CPU: Central Processing Unit) หรือหน่วยประมวลผล นับเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผลต่าง ๆ ตามที่โปรแกรมไว้ โดยปกติซีพียูเป็นอุปกรณ์/ชิ้นส่วนที่เสียหายยากมากจากการใช้งานปกติ ซึ่งซีพียูอาจจะทำงานได้นานมากจนเราเลิกใช้เครื่องไปเลย แต่ถ้าเราโชคร้ายโดยถูกผู้ผลิตนำซีพียูทีมีความเร็วต่ำมาหลอกขายว่าเป็นซีพียูความเร็วสูง (CPU Remark) หรือทำการ PUSH ให้ซีพียูทำงานเร็วกว่าความเร็วที่กำหนดให้ ทำให้อายุการใช้งานของซีพียูสั้นลงกว่าปกติ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อายุการใช้งานซีพียูสั้นลงก็คือ พัดลมระบายอากาศ (Ventilation Fan) ที่ติดตั้งอยู่ที่ชุดจ่ายไฟฟ้า (Power Supply) ของคอมพิวเตอร์เสีย ทำให้ซีพียูต้องทำงานที่ความร้อนสูงตลอดเวลา ถ้าซีพียูเสียก็ต้องซื้อใหม่อย่างเดียว ไม่สามารถทำการซ่อมหรือแก้ไขได้
3. การดูแลรักษาเมนบอร์ด
การดูแลรักษาเมนบอร์ด (Mainboard or Motherboard) เป็นส่วนประกอบที่เห็นได้ง่ายมาก เมื่อเปิดฝาเคสเครื่องคอมพิวเตอร์ออก เพราะจะเป็นชิ้นส่วนที่วางอยู่เป็นพื้นให้อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนอื่นเป็นอุปกรณ์ที่มี Chip ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเป็นทั้งตัวรับและจ่ายไฟให้กับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ บนเมนบอร์ด ซึ่งถ้ามีอุปกรณ์สำรองไฟฟ้า (UPS) ก็จะช่วยให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นไปอย่างราบรื่นสม่ำเสมอ และไม่ทำให้อุปกรณ์อื่นๆ ชำรุดเสียหาย ในกรณีที่เกิดไฟตกไฟกระชากอีกด้วย
4.การดูแลรักษาจอภาพ
การดูแลรักษาจอภาพ (Monitor) จอภาพให้มีอายุการใช้งานมากกว่า 1-3 ปี ควรดูแลรักษาดังนี้
                  4.1  อย่าให้วัตถุหรือน้ำไปกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์
                  4.2  ควรเปิดไฟที่จอก่อนที่สวิทซ์ไฟที่ CPU เพื่อ boot เครื่อง
                  4.3 ไม่ควรปิด ๆ เปิด ๆ เครื่องติด ๆ กัน เมื่อปิดเครื่องแล้วทิ้งระยะไว้เล็กน้อยก่อนเปิดใหม่
                  4.4 ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับสภาพของห้องทำงาน เพราะถ้าสว่างมากเกินไปย่อมทำให้จอภาพอายุสั้นลง
                  4.5 อย่าเปิดฝาหลัง Monitor ซ่อมเอง เพราะจะเป็นอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูง
                  4.6 เมื่อมีการเปิดจอภาพทิ้งไว้นาน ๆ ควรจะมีการเรียกโปรแกรมถนอมจอภาพ (Screen Sever) ขึ้นมาทำงานเพื่อยืดอายุการใช้งานของจอภาพ
5. การดูแลรักษาเมาส์ (Mouse)

การดูแลรักษาเมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ Input ที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูลคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเมาส์ จะประกอบไปด้วยลูกกลิ้งและฟันเฟือง ซึ่งสามารถถอดออกและทำความสะอาด เนื่องจากลูกกลิ้งจะสะสมเอาสิ่งสกปรกต่าง ๆ ไว้ภายในเมาส์ ทำให้ลูกกลิ้งไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ไปได้โดยอิสระ วิธีทำความสะอาดให้บิดช่องข้างล่างของเมาส์บริเวณที่เป็นลูกกลิ้ง พอถอดออกแล้วก็นำลูกกลิ้งข้างในออกมา และเราจะเห็นแกนอยู่ 2 แกนที่สามารถหมุนได้และแกนวงกลม ที่สามารถหมุนได้เช่นกัน ใช้เล็บหรือไขควงก็ได้แล้วแต่ถนัด ขูดพวกฝุ่นที่เกาะกันเป็นก้อนออกมา เท่านี้เมาส์ของคุณก็จะไหลรวดเร็วดังใจนึก สำหรับอุปกรณ์เมาส์แสง หรือ Optical Mouse ภายในเมาส์ประกอบด้วยเซ็นเซอร์แสง ซึ่งมักจะทำงานผิดปกติเมื่อมีฝุ่นผง สามารถทำความสะอาดโดยอุปกรณ์เป่าฝุ่น

หน้าที่ 1 | 2 | 3
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์