ICT : etraining
 

home I วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และพลังงาน I ดาราศาสตร์และอวกาศ I ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม I

elearning

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และพลังงาน

ฐานพระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย

ฐานบันทึกเกียรติยศ

ฐานโลกอนาคต

ฐานเมืองเด็ก

ฐานคมนาคมและขนส่ง

ฐานเปิดโลกพลังงาน

ฐานสวนวิทยาศาสตร์
ฐานเปิดโลกคอมพิวเตอร์
ฐานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์

ฐานเทคโนโลยีเพื่ออาชีพ

ฐานวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

ฐานโบราณสถาน

ฐานพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไท

ฐานอุทยานการศึกษาพระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย

ฐานการแสดงทางวิทยาศาสตร์


กลุ่มการเรียนรู้ : ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ธรรมชาติศึกษา (การกำเนิดผีเสื้อ)

 



ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้

เรื่องที่ 1 วงจรชีวิตของผีเสื้อ

เรื่องที่ 2 พฤติกรรมของผีเสื้อ

เรื่องที่ 3 ชนิดของผีเสื้อ

เรื่องที่ 4 ประโยชน์และโทษของผีเสื้อ

ธรรมชาติศึกษา (การกำเนิดผีเสื้อ)

เรื่องที่ 2 พฤติกรรมของผีเสื้อ

            การกินอาหาร ปากของผีเสื้อที่เป็นหลอดอาหารของผีเสื้อจึงเป็นของเหลวที่มีน้ำตาลหรือโปรตีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำหวานจากดอกไม้เพื่อไปเพิ่มเติมหลังงาน หรือในผีเสื้อขาหน้าพู่ที่ดูดน้ำเลี้ยง พืชไหลเยิ้ม ตามลำต้น ผลไม้เน่า มูลนก หรือซากสัตว์  หรือเกาะกันเป็นกลุ่มที่พื้นทรายเปียกหรือดินที่มีแร่ธาตุซึ่งเกลือแร่จะเป็นตัวรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อบอุ่น  ผีเสื้อส่วนใหญ่ที่พบตามดอกไม้  หรือโป่งเกลือแร่  มักเป็นผีเสื้อเพศผู้เกือบทั้งหมด
                การผสมพันธุ์  ผีเสื้อเพศผู้จะใช้วิธีการในมองหาเพศเมียเพื่อผสมพันธุ์ 2 วิธีด้วยกัน  คือ ผีเสื้อเพศผู้บินหาเพศเมียที่พร้อมผสมพันธุ์  ซึ่งมักเป็นที่ที่ผีเสื้อนั้นๆ  คุ้นเคย  ผีเสื้อเพศผู้เกาะอยู่ที่สูงและบินผ่านไปที่เพศเมียอยู่  หากเพศเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์  เพศผู้จะบังคับเพศเมียลงสู่พื้นเพื่อผสมพันธุ์แต่หากมีเพศผู้อีกตัวหนึ่งอยู่ก่อน การต่อสู้จะเกิดขึ้น  โดยผีเสื้อเจ้าถิ่นจะบินแบบควงสว่านเพื่อขับไล่
                การวางไข่  ผีเสื้อที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะบินไปหาที่สำหรับวางไข่  ซึ่งก็คือใบไม้ที่เคยเป็นอาหารของมันในระยะตัวอ่อน  และจะเป็นอาหารของตัวหนอนในระยะวางไข่นั่นเอง  ปัญหาว่าผีเสื้อทราบได้อย่างไรว่าใบไม้ที่วางไข่คือ  พืชอาหารตัวหนอนที่เป็นลูกของมัน  ซึ่งมีวิธีการต่างๆ คือ  การใช้ขาหน้าหรือหนวดที่มีประสาทความรู้สึก  แตะทดสอบหรือผีเสื้อบางชนิดใช้ส่วนปลายท้องเพื่อตรวจสอบก่อนวางไข่แต่ก็มีบางชนิดเท่านั้นที่ปล่อยไข่ลงสู่ดิน
                การบิน  ผีเสื้อ  บินเร็วหรือช้า  ความสัมพันธ์ระหว่างลำตัวและปีกของผีเสื้อมีส่วนในการกำหนด กล่าวคือผีเสื้อที่มีขนาดลำตัวใหญ่  เมื่อเปรียบเทียบกับปีกที่มีขนาดเล็ก  ผีเสื้อชนิดนั้นต้องกระพือปีกถี่และบินเร็วมาก  ผีเสื้อที่มีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบลำตัว  ผีเสื้อจะไม่ค่อยกระพือปีกบ่อยมันบินในลักษณะร่อนจึงบินช้า
            การอบอุ่นร่างกาย   เนื่องจากผีเสื้อเป็นสัตว์เลือดเย็น  ไม่สามารถปรับอุณหภูมิให้คงที่ได้จึงจำเป็นต้องมีวิธีอบอุ่นร่างกายที่พบบ่อยคือ  การผึ่งแดดโดยตรง
                การนอน  ผีเสื้ออาศัยช่วงเวลาที่เหมาะสม  เช่น  เวลากลางคืน  หรือช่วงท้องฟ้ามืดครึ้มนอนหลับ  โดยผีเสื้อจะหุบปีกและเอาหัวลง  หนวดชี้ตรงไปข้างหน้าบางชนิดนอนใต้ต้นไม้  บางชนิดนอนเป็นกลุ่ม
                การป้องกันตัว  ผีเสื้อมีวิธีป้องกันตัวเองจากศัตรูหลายแบบ  เช่น  มีสีสันสดใส  การพรางตัวให้สีเหมือนกับธรรมชาติ  บินเร็ว ลักษณะการบินคล้ายนก


พฤติกรรมของผีเสื้อ

 

 
north education e-learning network

พัฒนาโดย อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
science e-learning network Copyright 2012© Last updated November, 2012