Wednesday, November 28, 2012 11:34 AM
   ความสัมพันธ์ของนกกับสิ่งแวดล้อม    

























 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความสำพันธ์ของนกกับการเกษตร

บนโลกมีนกมากมายหลายล้านตัวอาศัยกระจายอยู่ทั่วไปทุกทวีป นกแต่ละชนิดมีความสามารถ ในการปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพธรรมชาติที่ต่างกัน ไม่ว่าเป็นในทะเลทรายอันแห้งแล้ง ท้องทะเลที่กว้างใหญ่ บนภูเขาสูงไปจนถึงป่าดงดิบที่ชุ่มชื้น กระทั่งตามแหล่งชุมชน ก็ยังมีนก อาศัยอยู่ นกจึงเป็นทรัพยากรชีวภาพอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยให้ระบบนิเวศดำรงอยู่ได้อย่างสมดุล ซึ่งพอจะ สรุปคุณค่าของนกต่อสิ่งแวดล้อม ได้ดังนี้

ช่วยผสมเกสร นกที่กินน้ำหวานดอกไม้ เช่น นกกินปลี นกปลีกกล้วย นกเขียวก้านตอง มีส่วนช่วยในการผสมเกสร ให้แก่ดอกไม้ ปากของนกเหล่านี้มีรูปทรงเรียวยาว เมื่อนกแหย่ปากเข้าไปดูดน้ำหวานภายในดอกไม้ เกสรดอกไม้จะติดไป กับ ปากนก เมื่อนกไปกินน้ำหวาน จากดอกอื่น เกสรที่ติดปากนกก็จะผสมกับดอกไม้ดอกนั้น ช่วยให้ดอกไม้ได้รับ การผสมพันธุ์

ช่วยแพร่กระจายพันธุ์พืช นกส่วนใหญ่ชอบกินผลไม้เป็นอาหาร เช่น นกเงือก นกโพระดก นกปรอด เมื่อนกกินผลไม้ เข้าไป เวลาถ่ายมูล จะมีเมล็ดติดออกมาด้วย เมื่อเมล็ดตกลงพื้นดินก็จะงอกเป็นต้นใหม่ จึงเป็นการช่วยกระจ่ายพันธุ์พืช ให้ไปงอกงามตามที่ต่าง ๆ

ช่วยกำจัดศัตรูพืช นกที่กินแมลงและล่าสัตว์อื่นเป็นอาหาร เป็นห่วงโซ่สำคัญในการควบคุมสมดุลของระบบนิเวศ เพราะ แมลงและสัตว์ที่ นกกินเข้าไปมักเป็นศัตรูพืช ซึ่งหากมีจำนวนมากเกินไปย่อมทำให้พืชพรรณเสียหาย จนธรรมชาติขาดสมดุล นกเหล่านี้จึงมีส่วนช่วยให้ ไม่ต้อง ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงในการกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรประหยัดรายจ่ายไปได้ อย่าง มากมายและยังไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงด้วย เช่น ฝูงนกนางแอ่นที่บินจับแมลงบนท้องฟ้า, นกกระจิบช่วยกำจัด หนอน ตามต้นไม้ เหยี่ยวและนกเค้าช่วยกำจัดหนู ที่มากัดกินต้นข้าว เป็นต้น

ช่วยกำจัดซากสัตว์ นกจำพวกแร้งชอบกินซากสัตว์เป็นอาหารจึงมีส่วนช่วยกำจัดซากก่อนที่จะเน่าเปื่อยจนกลายเป็น แหล่ง เพาะเชื้อโรค ในอดีตมีแร้งอาศัยอยู่ประจำถิ่นทั่วทุกภาคของประเทศไทย แม้แต่ตามชุมชนซึ่งในสมัยนั้น ยังขาดการรักษา ความสะอาด ทำให้มีซากสิ่งมีชีวิตทิ้งไว้เป็นอาหารแก่เหล่าแร้ง แต่เมื่อบ้านเมืองพัฒนาเจริญก้าวหน้าขึ้น แร้งจึงหายไปจากเมือง และความคุ้นเคยของผู้คน ปัจจุบันแร้งทุกชนิดในประเทศไทยเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจาก ขาดอาหาร และถิ่นอาศัย จากการที่นกมีความสามารถในการปรับตัว ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายต่างกันออกไป นกเป็นตัว บ่งชี้ถึงสภาพแวดล้อมแต่ละแห่งได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันสภาพแวดล้อมก็สามารถบอกถึงชนิดนกที่จะพบได้ด้วย เช่นกัน เช่น นกกระจอก นกเอี้ยง เป็นนกที่สามารถปรับตัวได้ดี แม้ว่าสภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป เราจึงพบนกเหล่านี้ อาศัยอยู่ตามชุมชนร่วมกับคนได้ทั่วไป ส่วนนกเงือกจะเป็นดัชนีชี้วัดถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า เพราะนกเงือกอาศัย อยู่ในป่าดงดิบเท่านั้น ดังนั้นหากป่าดงดิบถูกทำลายจนหมดสิ้นไป นกเงือกก็ต้องสูญพันธุ์ตามไปด้วย

 

วางลูกศร (เม๊าส์) บนภาพ
เพื่อพลิกดูความสัมพันธ์ของนกแต่ละชนิดกับสิ่งแวดล้อม