.. ........................................................................................................................... Wednesday, November 28, 2012 11:42 AM























 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     การอพยพย้ายถิ่นของนก    


การที่ในช่วงฤดูต่างๆ มีนกแปลกๆ หมุนเวียนเปลี่ยนหน้า มาให้เราเห็น คงกระตุ้น ความอยากรู้ให้นักดูนกสงสัยว่า นกเหล่านั้นมาจากไหน อะไรเป็น สาเหตุให้มันต้องอพยพ เพราะแม้แต่สัตว์อื่นๆ เช่น ปลา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และ แม้แต่ แมลง ถึงจะมีการอพยพย้ายถิ่น ด้วยวิธีการแปลกๆ แต่นก เป็นสัตว์ชนิดเดียว ในโลก ที่มีการอพยพย้ายถิ่นมากที่สุด แม้แต่มนุษย์ ถึงจะมียานพาหนะ หลาก หลาย รูปแบบ แต่ไม่มีใครเลยสักคนเดียว ที่จะเดินทางหลายพันไมล์ทุกปี จาก ทวีป อารค์ติก มายัง ทวีป แอนตาร์ติค เป็นประจำทุกปี เหมือนอย่าง เช่น นก นางนวลอาร์ติด ได้กระทำ

นกมีการปรับตัว ทั้งโครงสร้างร่างกาย และ สภาพทางกายภาพ ให้เหมาะ กับ การดำรงชีวิตในอากาศ ทั้งขนปีก หาง กระดูก ปอด และ โพรงอากาศในเนื้อเยื่อ รวมทั้งระบบเผาผลาญอาหารให้เกิดพลังงาน เพื่อการดำรงชีพอย่างน่าประหลาด การปรับตัวนี้เอง ทำให้นกสามารถแสวงหา สถานที่ที่มีสภาพแวดล้อม ที่เหมาะ แก่การ ดำรงชีพ ของมันในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละฤดูกาล ในแต่ละปี ด้วยคุณ สมบัติ ดังกล่าว ทำให้เกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ เราเรียกกันว่า การอพยพ ย้ายถิ่น ของ นก ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี สม่ำเสมอ ในแต่ละฤดูกาล ที่ผันเปลี่ยน ไป การอพยพเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า จากพื้นที่แห่งหนึ่ง ไปยัง พื้นที่อีกแห่งหนึ่ง แล้ว เวียนกลับไปมาเช่นนี้ ชั่วนาตาปี

จากประสบการณ์ของมนุษย์ บอกให้เรารู้ว่า สาเหตุสำคัญมาจาก แหล่ง อาหารที่ลดน้อยลง เนื่องจากฤดูหนาวที่แสนหฤโหด และ สัญญาณเตือนภัยว่า มีการเปลี่ยนแปลง ของ ธรรมชาติ จากที่เคยเป็น ในบางพื้นที่ การปรากฎตัวของ สัตว์ต่างถิ่น เป็นสัญญานของความเปลี่ยนแปลง สำหรับชาวเอสกิโม และชนเผ่า ต่างๆ ทางขั้วโลกเหนือ มันหมายถึง สัญญานว่า กำลังจะเข้าสู่ ฤดูใบไม้ผลิแล้ว อากาศจะเริ่มอบอุ่นขึ้น ความอดหยากแร้นแค้นในช่วงฤดูหนาว กำลังจะผ่านพ้นไป เสียที แต่มี เรื่องจริงที่น่าหดหู่ใจ ว่า พวกค้าขนสัตว์ในอลาสกา และ คานาดา ต่างพากันลิงโลด เมื่อ ได้ข่าวจากคนพื้นเมืองอเมริกันว่า เห็น ฝูงห่านป่า อพยพมา แล้ว เพราะนั่นหมายความว่า จะมีเหยื่อชนิดใหม่ มาให้พวกเขาล่า กันอีกแล้ว !!!!????

สำหรับชาวอเมริกันตอนเหนือ กำลังเริ่มมีปัญหาแล้ว เพราะ ทุกคราว ที่ มีฝูงเป็ด และ ห่านป่า อพยพเข้ามา รวมทั้ง พวกนกอัญชัน นกพิราบป่า และ นก ปากซ่อมดง พวกมันจะถูกกองทัพนักล่ากระหายเลือด ตามเข่นฆ่า ทั้งที่อ้างว่า เพื่อ นำไปเป็นอาหาร และ เพื่อ เกมกีฬา (ป่าเถื่อน - มหาโหด ) เป็นจำนวน มหาศาล เพิ่มขึ้นทุกปี สัตว์ที่น่าสงสารเหล่านี้ มีส่วนอย่างสำคัญ ต่อการช่วย กำจัดแมลง และ การระบาดของวัชพืช ในอีกไม่นานนัก นักดูนกที่เฝ้าดู การลด ลงของ นก ที่อพยพมา ต่างมีความเห็นว่า ต้องมีการควบคุมการล่า อย่างไร้ขอบ เขต นี้ ทั้งในระดับรัฐ และ ระดับประเทศ ในภูมิภาคต่างๆ ต้องมีการออก กฎหมาย จำกัดการล่าอย่างไร้สติ นี้เสียที เพื่อให้มีการรักษาทรัพยากร นี้ไว้ให้ ยั่งยืน จำเป็นต้องมีการศึกษา ถึง นิสัยการดำรงชีวิต สภาวะแวดล้อม ที่เหมาะ สม และ ลักษณะการอพยพของนกเหล่านี้ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ในต่างประเทศ มีการศึกษาอย่างจริงจัง ถึงสาเหตุการลดลง ของจำนวนนกอพยพ เช่น การเปลี่ยน แปลง การใช้ที่ดิน การบุกเบิกทำลายที่อยู่อาศัยของนก รวมทั้งผลกระทบจาก การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ของมนุษย์ มีการประสานความร่วมมือ จากองค์กร ต่างๆ ทั้งของรัฐ และ เอกชน ทั้งในและ ต่างประเทศ เพื่อศึกษา และ หาวิธีการ ที่เหมาะสม ในการ คุ้มครองความปลอดภัยให้แก่นกอพยพ เหล่านี้

นักวิทยาศาสตร์ และ เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้ง อาสาสมัครท้องถิ่น มีการรวบรวมข้อมูล และ แลกเปลี่ยนข่าวสาร กัน เกี่ยวกับ การอพยพย้ายถิ่น ของนก ในเขตขั้วโลก ละตินอเมริกา คานาดา และอาสาสมัคจากทุกมุมโลก เฝ้าติดตาม และ รายงานการอพยพย้ายถิ่นของนก นกอพยพในอเมริกาเหนือ ได้รับการเก็บบันทึก ข้อมูลไว้มากที่สุด องค์กรต่างๆในภาคพื้นยุโรป และ อเมริกา ยินดีอย่างยิ่ง ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูล เกี่ยวกับนกอพยพเหล่านี้ และ แสวงหาความ ร่วมมือ จากทุกชาติ ในโลก ที่ตระหนังถึงความสำคัญของการ คุ้มครองฝูงนกอพยพ เหล่านี้ ให้คงอยู่ตลอดไป

วิวัฒนาการของการอพยพ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างสำคัญ ต่อแรงจูงใจให้สัตว์ต่างๆอพยพ คือ ความอุดม สมบูรณ์ และ ความเหมาะสมต่อการดำเนินชีวิต ที่แตกต่างกันของสองภูมิภาค ในแต่ละฤดูกาล นก Upland Sandpiper ซึ่งทำรังเลี้ยงลูกอ่อนอยู่ในทุ่งหญ้า ของ ทวีปอเมริกาเหนือ และ อพยพย้ายถิ่น ในฤดูหนาวไปที่ ทุ่งหญ้าแพมพัส ใน อาเยน ตินา ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของเหตุผลนี้ พวกมันไม่เคยรู้รสชาด ของความหนาว อัน หฤโหด เลย ซึ่งพวกมันคงจะได้รู้รสแน่ ถ้าไม่ขยันเดินทางไกลปีละสองหน อย่างที่มันทำอยู่ทุกปี พฤติกรรมการอพยพ มักจะเคยเกิดขึ้นจากการพยายาม ทำ สักครั้งหนึ่ง ให้แตกต่างไปจากที่เคยชิน ธรรมชาติเป็นตัวกำหนดว่า สัตว์ชนิด ไหน ที่ดิ้นรนให้พ้นจากความแร้นแค้น ด้วยการอพยพ คือผู้ที่ธรรมชาติเลือกสรร ให้กลุ่มนั้นอยู่รอด บางครั้งไม่ต้องอพยพไปไกลมากก็ได้ เช่น นกกิ้งโครงพันธุ์ ยุโรป ครั้งหนึ่งในยุค ไพลโตซีน หรือ ยุคน้ำแข็งละลายท่วมโลก พวกมันซึ่งปกติ อพยพย้ายถิ่นอยู่เพียงในทวีป แต่ มีพวกหนึ่งที่เลือกอพยพ กระจายไปอยู่ตามเกาะ ต่างๆ ของอังกฤษ ซึ่งอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล และปัจจุบันก็พอใจที่จะอยู่ในที่สูง ท่ามกลางอากาศชุ่มชื้นของบริเวณที่ล้อมรอบด้วยทะเล นี่ก็คือ ตัวอย่างของการ อพยพย้ายถิ่นที่ถูกพัฒนาขึ้น ในระยะที่สอง

ข้อแตกต่าง ของการที่นกส่วนหนึ่ง ซึ่งทำรังวางไข่ที่หนึ่ง ในฤดู ใบไม้ ผลิ พอถึงฤดูหนาวจะอพยพไปหากินที่ใด มีสาเหตุจาก การลดการแก่งแย่ง แหล่งอาหารในถิ่นเดิม นกจะเลือกอพยพในฤดูหนาว ไปยังที่ที่มันคิดว่า มีแหล่ง อาหารสมบูรณ์เพียงพอ ที่จะสะสมไว้มากพอ ก่อนที่จะกลับไปจับคู่ ทำรังวางไข่ เลี้ยงลูกอ่อน ในถิ่นเดิม แต่กับนกที่ ปกติเป็นนกประจำถิ่นในเขตร้อน เป็นอีก เรื่องหนึ่ง นก ซึ่งหากิน และ ทำรังวางไข่ในภูมิภาคเดิมนั้น ก็ปรับสภาพร่างกาย ให้คงอยู่ได้ โดยไม่ต้องอพยพย้ายถิ่นไปที่ไหนไกลๆ นกพวกนี้จะอยู่ได้โดยไม่ ต้อง ทนทรมานเพราะความอดอยากหิวโหย และ ไม่ต้องผจญกับการเสี่ยงภัย นานับประการ ระหว่างการอพยพย้ายถิ่น นกประจำถิ่นพวกนี้ มีการปรับ ร่างกาย ให้กินอาหารได้หลากหลายชนิด และ สับเปลี่ยนชนิดของอาหาร ไปได้ เรื่อยๆ ตามสภาพของอากาศที่เปลี่ยนไป เหยี่อที่หาได้ ก็ จะเปลี่ยนหน้าไปได้ เรื่อยๆ แต่นกที่อยู่ในเขตร้อนชื้น หรือ เขตมรสุม ซึ่งภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลง น้อยมาก การพัฒนาของนกพวกนี้ จะเปลี่ยนเป็นการอาศัยหากิน แบบหลบซ่อน ตัว ตามพื้นล่างที่รกทึบ เพื่อให้พ้นจากนักล่า พวกที่ชอบทำรัง บนต้นไม้ที่สูงกว่า

ในบรรดานกในวงศ์ นกกระจ้อย และ นกกินแมลง ทั้งหมดเป็น นก อพยพย้ายถิ่น ในขณะที่นกในวงศ์นกหัวขวานเกือบทั้งหมด เป็นนกประจำถิ่น มีจำนวนน้อยในกลุ่มของมันเท่านั้น ที่ชอบอพยพ ส่วนใหญ่มักอยู่ที่เดิม แต่อาจย้าย แหล่งที่อยู่ภายในประเทศบ้าง ในฤดูฟักไข่ทำรัง และ เลี้ยงลูกอ่อน นกที่บางส่วน เลือก เอาการอพยพ ขณะที่พวกเดียวกันส่วนใหญ่คงอยู่ที่เดิม เช่นนก Blue Jay ยังเป็นปริศนาคาใจอยู่ว่า อะไร เป็นเหตุจูงใจพวกยังเตอร์ก หรือพวกนอกคอก เหล่านั้น

นก ต้องการสิ่งแวดล้อมที่พิเศษ ในการขยายเผ่าพันธุ์ ในระหว่าง กลุ่ม นกที่ชอบการอพยพ และ กลุ่มที่ไม่อพยพ มีความต้องการแตกต่างกัน เชื่อกัน ว่า ประเภทของอาหาร ที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงลูกอ่อน เมื่อเกิดขึ้นที่ใด เวลาใด นั้นแหละคือตัวกำหนดว่า ถึงเวลาที่พวกมันต้อง จับคู่ทำรัง แล้วละ นก American Goldfinces และ Pine Siskins เป็นนกที่มีความสัมพันธุ์ใกล้ชิดกันมาก พวกมัน จะ รวมฝูงกันเป็นฝูงใหญ่ และ อพยพไปด้วยกันในฤดูหนาว แต่พอถึงภาวะ คับขัน ที่ต้องการแมลงจำนวนมหาศาล เพื่อ เลี้ยงลูกอ่อนในฤดูใบไม้ผลิ นก Siskin จะแยกกลุ่มออกไป ทำรังก่อน ในขณะที่ นก Goldfinches จะเปิดทาง ให้เพื่อนซี้ โดย เลื่อนการทำรังของพวกตัวออกไปก่อน รอจนกระทั่ง ต้นไม้ ชนิดหนึ่ง จำพวกผักโขม ดอกม่วง เหลืองหรือขาว (ต้น Thistle ) ออกฝักเสียก่อน พวกมันจึงทำรัง และ ใช้ฝัก ของ ต้นไม้ชนิดนี้ ไปเลี้ยงลูกอ่อน ยกตัวอย่างอีก พวก หนึ่ง ก็ได้ พวกนกน้ำ เงื่อนไขในการทำรัง กลับไม่ใช่แหล่งอาหาร แต่เป็นช่วง ที่พืชน้ำชนิดที่มัน ชอบใช้เป็นวัสดุทำรัง เจริญงอกงามต่างหาก ก้อ แหล่งน้ำ นะ อาหารอุดมสมบูรณ์อยู่ทั้งปีทั้งชาติแล้ว นี่นะ

การวิวัฒนาการรูปแบบการอพยพ ก็ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก ความ ต้องการ ที่แตกต่างกันเฉพาะชนิดพันธุ์ ในช่วงเวลาของการ จับคู่ทำรัง หรือ การ ดำรงชีวิตในช่วงฤดูหนาว ซึ่งสภาพแวดล้อมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นกที่ชอบ อพยพส่วนมาก โดยเฉพาะพวกที่อพยพระยะไกล เช่นนกนางแอ่น และ นกกิน แมลง ส่วนมาก เมื่ออากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิลดต่ำลง ก่อนที่แมลงจะ ลดน้อยลง นกพวกนี้ จะเริ่มรู้ตัวว่า ทำมาหากินลำบาก อุณหภูมิที่ลดต่ำลง เริ่ม ทำให้มันอยู่ไม่สบาย นกทั้งสองชนิดนี้ มีปฎิกิริยา ต่ออุหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ไวมาก พวกมันจะเป็นพวกแรกๆ ที่เริ่มอพยพในทันที

ในฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกตอนเหนือ เป็นตัวกระตุ้นให้มีการอพยพ กลับไป เพราะช่วงกลางวันที่ยาวขึ้น ทำให้พืชพรรณไม้ ที่นกใช้เป็นแหล่งอาหาร เลี้ยงลูกอ่อน เจริญงอกงาม ทำให้ลูกโตเร็ว การฟักไข่ไม่ต้องใช้เวลานานเกินไป เพราะลูกของมันโตและแข็งแรงเร็วเพียงใด หมายถึงความเสี่ยงของลูกจากพวกนักล่า ลดน้อยลงด้วย แต่ มีความจริงอยู่ว่า ในเขตตอนเหนือของโลก ฤดูร้อนมักสั้น ทำให้ช่วงเวลาเหมาะในการทำรัง เลี้ยงลูกสั้นตามไปด้วย นกต้องเร่งออกไข่ เลี้ยงลูกอ่อน เพื่ออีกไม่นาน ต้องเตรียมตัวอพยพลงใต้ กันอีกครั้งหนึ่ง ในภูมิภาคเขตร้อน จริงอยู่ ฤดูร้อนอาจยาวนาน เวลาออกไข่ เลี้ยงลูก ยาวนาน ขึ้น แต่อย่าลืมว่า ศัตรูที่จะทำอันตรายลูกนก ก็มีเหยื่อ และ เวลาล่ามากขึ้นด้วย

เมื่อฤดูใบไม้ร่วงที่หนาวทารุณ ผ่านพ้นไป จาก อาณาบริเวณตอนเหนือ ของโลก ความเย็นที่มากเกินไป ทำให้สัตว์หลายชนิด ไม่อาจทานทนอยู่ได้ แม้แต่ นก Dickcissel ซึ่งชอบอากาศหนาว อาศัยอยู่ในเขตสัตว์ภูมิศาสตร์ นีโอทรอปิคคอล และอพยพไปทำรังในเขตหนาวไกลถึง เมือง วินนิเปค ( Winnipeg ) ก็ยังไม่ อาจทนอยู่ในสภาพต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ซึ่งแม้จะเป็นช่วงเวลาไม่กี่วันของ ภูมิประ เทศ กึ่งหนาวกึ่งอบอุ่นได้ แม้ว่าการมาถึง ของอาคันตุกะแปลกหน้า ในช่วง ฤดูหนาว ที่อาหารขาดแคลน ย่อมสร้างความลำบาก ให้แก่ นกในถิ่นเดิมนั้น อยู่บ้าง แต่ สำหรับ ผู้มาเยือนแล้ว ความลำบากตรากตรำ จากการเดินทางไกล จะเป็นตัว กำจัด นักเดินทางที่ไม่แข็งแรงพอ นิสัยในการเป็นนักอพยพ เพื่อจะสืบทอด เผ่า พันธุ์นักเดินทางรุ่นต่อไป จึงต้องแลกมาด้วย บททดสอบที่ผู้ที่ทำโจทย์ผ่าน คือผู้ที่รอดชีวิต ผ่านด่านอรหันต์ ของธรรมชาตินี้มาได้เท่านั้น

จากซากฟอสซิล ของนกทำให้เราทราบว่า นกมีวิวัฒนาการ แยกออก มาจากสัตว์เลื้อยคลานตั้งแต่ 150 ล้านปีมาแล้ว และเพิ่งจะราว 50 ล้านปีมานี่เอง หรือตั้งแต่หลังยุคน้ำท่วมใหญ่เป็นต้นมา บางทีอาจจะย้อนไปถึง 65 ล้านปีก็ได้ หลังจากที่ภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลง อย่างทันทีทันใด ซึ่งอาจเกิดจาการที่ โลก ถูกดาวพระเคราะห์น้อยชน หลังจากนั้น พืช และ สัตว์สูญพันธุ์ไปเกือบหมดโลก แต่ หลังจากโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ผ่านพ้นไป เชื้อสายบรรพบุรุษนก ที่เหลือรอด อยู่เพียงเล็กน้อย ได้ดิ้นรนเพื่อสืบเผ่าพันธุ์ จนมีวิวัฒนาการกระทั่ง มีรูปร่างคล้ายนก อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน แต่ ยังก่อน โชคร้ายยังไม่หมดสิ้นเสียทีเดียว ผืนทวีป ที่แตกเป็นชิ้นส่วนใหญ่ๆ ล่อยลอยอยู่ในทะเล ได้เคลื่อนเข้าหากัน แผ่นทวีป อินเดีย ลอยเข้าชน แผ่นทวีปเอเซีย และ ส่วนหัวที่ชน จมมุดลงไปใต้แผ่นทวีปเอเซีย และ งัด ให้แผ่นทวีปเอเซีย สูงขึ้นทีละน้อย แรงจากการปะทะของสองแผ่นทวีป ก่อให้เกิดรอยย่นบนผิวโลก นั่นคือ แผ่นดินถูกเบียดอัด ยกตัวสูงขึ้นเป็นเทือกเขา และ เขาสูง พร้อมทั้งบางส่วนยุบตัวลงเป็นหุบเหว บางส่วนยกตัวขึ้น เป็นแนวเทือก เขา เทือกเขาหิมาลัย และ อีกหลายเทือก ก่อกำเนิดขึ้น และยกตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ อุณหภูมิ ระหว่างองศาละติจูด และ ลองจิจูด แตกต่างกัน มากขึ้น นกที่ตกค้าง อยู่ ตามที่ต่างๆ มีการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่นี้ ผลจากการเปลี่ยนพฤติกรรม ก่อเกิดวิวัฒนาการ ของการอพยพย้ายถิ่น ขึ้นมาอีกครั้ง ในนกชนิดที่แตกต่าง ไป จาก บรรพบุรุษ เดิม

รูปแบบของวิวัฒนาการ การอพยพย้ายถิ่น ยังเนื่องจากสาเหตุเดิม คือ การแก่งแย่งที่อยู่อาศัย และ แหล่งอาหาร อาหารที่ขาดแคลน อย่างร้ายแรง ในยุค นั้น สร้างแรงกดดัน ให้แก่นกประจำถิ่น และ นกถิ่นข้างเคียงอย่างยิ่ง เพื่อ การ รักษาเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ ทำให้นกที่ชอบย้ายถิ่น มีพฤติกรรมแตกต่าง จากนก ที่ ชอบอยู่ประจำที่ แต่พฤติกรรมใหม่เกิดขึ้นให้เห็น นก common Yellowthroat ที่อาศัยอยู่แถบ ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติค เป็นตัวอย่างที่ดี นกชนิดนี้ พวกที่ อยู่ตอนใต้ของฟลอริดา เป็นพวกอยู่ประจำถิ่น แต่พวกที่แยกตัวออกไป ทำรัง วาง ไข่อยู่ทางตอนเหนือ ไกลถึง นิวฟาวแลนด์ พอถึงฤดูหนาว กลับอพยพไปหากินที่ เวสต์อินเดีย พวกที่แยกตัวออกมาจากกลุ่มที่อยู่ในฟลอริดา ประสบความสำเร็จ ในการแก่งแย่งกับนกชนิดอื่น โดยนกกลุ่มนี้สามารถยึดครองพื้นที่ ทั้งในเขต ที่ใช้ ทำรัง และ ในเขตที่อพยพหนีหนาว ไปหากิน จนในที่สุด ไม่มีนกจากฟลอริดา อพยพอีกเลย สัดส่วนที่นกประจำถิ่น และ นกที่ย้ายถิ่น เริ่มแตกต่างกัน น้อยลง ทุกที นั่นหมายความว่า นกพวกที่แยกตัวออกไปเป็นพวกชอบอพยพ มีวิวัฒนา การต่างจากพวกพ้องเดิมในฟลอริดา จากที่เคยมีอยู่ 3 พวก คือ พวกที่ประจำถิ่น พวกที่อพยพ และ กลับมาถิ่นเดิม และพวกสุดท้ายอพยพไปแล้วไม่กลับ ที่สุด วิวัฒนาการไปจนกลายเป็น นกชนิดใหม่ แยกจากกันโดยสิ้นเชิง จากผลการ ศึกษานกชนิดนี้ บอกความจริงได้อย่างหนึ่งว่า การที่นกอพยพย้ายถิ่น ได้ก่อ พฤติกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นกับ นกที่ชอบอพยพย้ายถิ่น นั่นคือ นกที่เราศึกษาอยู่ ใน ปัจจุบันนี้ ต่อไปในอนคต รูปแบบของการอพยพ จะเปลี่ยนโฉมหน้าไป ในอนาคตมันจะไม่เหมือน ในปัจจุบันอย่างแน่นอน

การที่นกอพยพเป็นฝูงขนาดใหญ่ ไม่เพียงแต่พฤติกรรมเท่านั้น ที่เปลี่ยน นอกจากสีขน แล้ว รูปแบบของปีก ก็ เปลี่ยนไปด้วย ในนกที่ชอบอพยพย้ายถิ่น จะพัฒนาปีกให้ยาวขึ้น มุมยกของปีกสูงกว่านกที่ไม่อพยพ การพัฒนาการนี้เพื่อ ลดแรงปะทะที่ปลายปีก ทำให้บินได้นาน และ ไม่ต้องออกกำลังขยับปีก แต่ใช้การ ร่อน เพื่อประหยัดพลังงานแทน มุมปีกที่มากขึ้น ก่อแรงยกที่ปีก ได้สัดส่วนกับ น้ำหนักตัว ขนปลายปีกยาวขึ้น ยาวกว่าขนปีกด้านใน รูปร่างของปีกจะดูแหลม ซึ่งนกที่ไม่อพยพมักจะมีปีกลักษณะกลม ในเอเซีย มีตัวอย่างให้เห็นเปรียบเทียบ กัน นกขมิ้นหัวดำใหญ่ ( Black headed Oriole ) มีปีกกลม ในขณะที่ ญาติสนิท ใกล้ชิดของมัน คือ นกขมิ้นท้ายทอยดำ (Black - maped Oriole ) มีปีกแหลม เนื่องจาก นกขมิ้นท้ายทอยดำ เป็นนกที่ชอบอพยพ พวกมันอพยพย้ายถิ่น จาก ไซบีเรีย มายัง อินเดีย ทุกปี นกอัลบาทรอส เหยี่ยวฟัลคอน นกนางแอ่น นกชาย เลนชนิดต่างๆ และ นกนางนวล ล้วนแต่เป็นนักเดินทางไกล พวกนี้ล้วนมีปีก ยาว และ ปลายปีกแหลม แต่ สำหรับชนิดที่มีเชื้อสายใกล้ชิดกัน และ ต่างก็เป็น นักเดินทางด้วยกัน ก็ยังมีข้อแตกต่างของการวิวัฒนาการ ไปคนละทาง เช่นกัน เช่น นก Samipalmated Sandpiper มีปีกแหลม เนื่องจากเป็นนกที่อพยพย้ายถิ่น จาก ทวีปอาร์ติค ไปยัง ตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ เมื่อเทียบกับญาติสนิท ของมัน คือ นก Baird's และ White - rumped Sandpiper ซึ่งอพยพจาก ทวีปอาร์ติด บินตรงข้ามทวีปไปถึง ตอนใต้สุดของ อเมริกาใต้ ซึ่งไกลกว่า พวกแรก ผลก็คือ พวกหลังมีปีกยาวกว่า ( เพราะบินไกลกว่า ) ธรรมชาติช่าง อัศจรรย์จริงหนอ แต่ผมว่าคนที่คิดโจทย์ข้อนี้ออก น่าอัศจรรย์พอกัน

สิ่งกระตุ้นให้นกอพยพ

ปัจจัยแวดล้อม ที่มีผลต่อการพัฒนาการ ของการอพยพย้ายถิ่นของนก มิได้ เกิดจากสภาพแวดล้อม เพียงอย่างเดียว ที่เป็นตัวกระตุ้น ให้นกตัดสินใจ ย้ายถิ่น เพราะ ถ้านกรอจนกระทั่ง อาหารในเขตที่มันทำรังเริ่มขาดแคลน จึงจะเตรียมการ อพยพ มันจะไม่มีเวลาเหลือพอ เพราะเมื่ออพยพไป ถึงถิ่นใหม่แล้ว มันต้องใช้เวลา ในการแก่งแย่งที่อยู่กับเจ้าของถิ่นเดิม ต้องใช้เวลาในการจับคู่ ทำรัง ฟักไข่ และ เลี้ยงลูกอ่อน ต้องใช้เวลากว่าลูกอ่อน จะแข็งแรงพอในการอพยพ ตามพ่อแม่ไป ดังนั้น ปัจจัยจากการ ขาดแคลนอาหาร น่าจะไม่ใช่ตัวกระตุ้น ให้นกตัดสินใจอพยพ ทำนองเดียวกัน ถ้าคิดว่า สาเหตุจากการเปลี่ยนแปลง ของอากาศ ก็ไม่น่าใช่สาเหตุ เพียงอย่างเดียว เพราะ ก่อนออกเดินทางไกล นกต้องใช้เวลาสะสมพลังงาน มากพอ ที่จะใช้ ระหว่างทาง ซึ่งอาจไม่มีการแวะกินอาหารเลย การรอจนอุณหภูมิ ลดต่ำลงมาก นกต้องสูญเสียพลังงานมาก ในการบินระยะไกล ฉะนั้น ปัจจัยที่เป็น ตัวกระตุ้น ให้นกพัฒนาการอพยพย้ายถิ่น น่า จะ เป็นทั้งสองอย่างที่สอดคล้องกัน คือต้องมีช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่นกมีอาหารเหลือพอที่จะกิน และ เก็บสะสม พลังงานสำรองไว้ในตัว ทั้งพ่อแม่และสมาชิกใหม่ ภูมิอากาศ เมื่อถึงเวลาอพยพ จริง ต้องไม่หนาว หรือ ร้อนเกินไป สรุปคือ สภาพแวดล้อม จนถึงขั้น วิกฤต ไม่ใช่ตัวกระตุ้นให้นกอพยพ แต่ การตระเตรียมการอพยพต้องทำก่อนหน้านั้น คือขณะที่อาหารสะสมมีพอ และ อุณหภูมิ พอเหมาะ ที่ไม่ต้องใช้พลังงาน ในการ บิน มากเกินไป

ในฤดูใบไม้ผลิ นกที่เตรียมการอพยพ จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ของ สารเคมีในเซลล์ประสาท ที่อยู่ทางส่วนล่างของสมอง (ต่อม Hypothalamus ) ซึ่งจะหลั่งสารเคมีออกมา กระตุ้นให้นกเกิดความอยากกินอาหาร มากกว่าปกติ คือกินจนอิ่มแปร้ เพื่อที่ว่าอาหารส่วนเกิน จะถูกแปรรูปไปเป็นไขมัน เก็บไว้ใต้ ผิวหนัง ที่กล้ามเนื้อปีก และ ที่ช่องท้อง การกินอาหารนี้จะต้องมากกว่า 40 % ของที่มัน เคยกินตามปกติ นกเล็กๆ เช่น นกกระจอก นกกระจ้อยนักร้อง เหล่านี้ ต้องกินอาหารถึง 1 - 1.5 กรัม ต่อวัน และการกินขนานใหญ่นี้ ต้องกระทำ นานถึง 2 สัปดาห์ ก่อนการอพยพจริงจะเกิดขึ้น นอกจากนั้น ร่างกายจะต้อง ปรับ สภาพให้เปลี่ยนอาหารส่วนเกิน ไปเก็บในรูปของพลังงานสำรอง เช่น ไขมัน ได้อย่างรวดเร็ว ก่อนการอพยพ นกจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 3 - 5 % ของน้ำหนัก ปกติ เมื่อการอพยพจริงจังมาถึง นกที่อพยพในเส้นทางระยะสั้น และ ระยะกลาง จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 15 % ของน้ำหนักตัวปกติ แต่นกที่อพยพข้ามทวีป ระยะทางไกล จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 30 - 50 % ทีเดียว เรียกว่าอ้วนพลุ้ยกันเลย ทีเดียว ไขมันที่เก็บไว้ นี้ให้พลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน ในการเผาพลาญพลังงาน กล่าวคือ กล้ามเนื้อที่ใช้ในการบิน สามารถแปรรูป ไขมันนี้ไปเป็นพลังงาน ได้ทันที โดยกระบวนการนี้ ต้องไม่ทำให้นกเหนื่อย หรือ อ่อนเพลียด้วย

กระบวนการ ได้ถูกทดสอบมาแล้วว่า ช่วงขณะที่เวลากลางวันยาว นาน ในรอบปี โดยสมองของนก จะถูกกระตุ้น ให้เกิดความอยากกินอาหาร ให้มากๆ โดย สารเคมี โพรแรคติน (Prolactin ) จากต่อมใต้สมอง พิทูอิทารี (pituitary ) จะหลั่งฮอร์โมน คอร์ติคอสเตอร์โรน ( Corticosterone ) จากต่อม อาดีรานัล และ ออร์โมนเพศ ต่างๆ เช่น เทสโตสเตอร์โรน (testosterone ) จากต่อมหมวกไต การหลั่งฮอร์โมน จากต่อมต่างๆในสมอง และ อวัยวะที่มี ต่อมควบคุมฮอร์โมน นี้เอง เป็นตัวกระตุ้นให้นกกินเป็นพายุบุแคม

ในนกที่เตรียมการอพยพ จะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติแสดงให้เห็น มักมีกิจกรรมมากในเวลากลางคืน พวกมันไม่มีทีท่าว่าจะพักผ่อนหลับนอน โดยเฉพาะนกที่มีการรวมฝูงเตรียมอพยพ การศึกษาพฤติกรรมนี้ มีการศึกษา อย่างระมัดระวัง ทั้งจากการสังเกตการณ์จากนกที่เตรียมอพยพในธรรมชาติ และ นกที่มีพฤติกรรมชอบอพยพ ที่ถูกจับมาขังกรง แสดงให้เห็นว่า นกที่ถูกขังกรง มีพฤติกรรม ไม่ยอมพักผ่อน หลับนอนในตอนกลางคืน อาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับ จะมีมาก และ น้อย ตามช่วงเวลา ที่นกชนิดนั้น ในธรรมชาติ ควรจะอยู่ระหว่างบินอพยพ หรือ เริ่มจะอพยพ จน ฤดูกาลอพยพผ่านพ้นไป จากการศึกษา พบว่า ความยาวของเวลากลางวัน นอกจากเป็นตัวกระตุ้น ให้นก กินอาหารมากกว่าปกติ ยัง เป็นสิ่งที่ทำให้ พฤติกรรมของนกเปลี่ยนไป เช่น ไม่ยอมพักผ่อนในเวลากลางคืน นักวิทยาศาสตร์พบว่า ช่วงเวลากลางวันที่ยาวขึ้น มีผลให้ต่อม ไฮโพธัลลามัส ( Hypothalamus ) หลั่งฮอร์โมน โพรแลคติน ( Prolactin ) ออกมามากขึ้น รวมทั้งฮอร์โมน Corticosterone และ ฮอร์โมนเพศ Sex steroids สารเคมีจากฮอร์โมนเหล่านี้ มีผลไปลดการผลิต สารเคมี เมลาโตนิน ( Melatonin ) ทำให้ นกมีพฤติกรรม การดำรงชีพต่างไปจากปกติ (ไม่ยอมนอนกลางคืน เป็นต้น )

การพัฒนาการอพยพย้ายถิ่น เนื่องจากถูกกระตุ้นโดย ช่วงเวลา กลางวัน ที่ยาวนานขึ้น ยังเป็นเรื่องน่าพิศวง ยกตัวอย่างเช่น นก Bobolink ที่อาศัย อยู่ทาง เขตร้อนตอนใต้ ขณะที่ช่วงเวลากลางวันยาวขึ้น มันกลับมีพฤติกรรม การ อพยพ ย้ายถิ่น โดยมุ่งลงไปทางเหนือ โดยไปที่ เขตศูนย์สูตร แต่ พอถึงช่วงเวลา ที่ กลางวันสั้นลง มันกลับอพยพกลับ จากเขตเส้นศูนย์สูตร การอพยพจะดำเนิน ไป เรื่อยๆ จนกระทั่งมาหยุดอยู่ที่ เส้นขนานที่ 14 องศาเหนือ ?!!!

การที่ช่วงกลางวัน และกลางคืน ยาวไม่เท่ากัน เกิดจากการหมุน ของ โลก และ แกนของโลก เอียงทำมุมกับระนาบวงโคจร รอบ ดวงอาทิตย์ การมีช่วง กลางวันยาว ในบางฤดูกาล มีผลให้ นก สัตว์ และ พืช มีการแสดงออกที่เปลี่ยนไป จากปกติ นั้นเป็นสิ่งที่รู้กันแพร่หลาย จน เป็นของธรรมดา แต่ พวกนั้นก็ยังคง อยู่ ประจำถิ่น หรือไปใหนไม่ใกลจากถิ่นเดิม แต่ กับนกบางชนิด ช่วงกลางวัน ที่ยาว ขึ้น มีผลทำให้มันตัดสินใจ อพยพย้ายถิ่น ทำไมมันจึงทำเช่นนั้น ???!!!!

ถึงแม้ว่า เวลาที่กลางวันยาวขึ้น จะเป็นสิ่งเร้าต่อนก และ สิ่งมีชีวิต อื่นๆในโลก แต่นกก็มีการพัฒนาความเป็นอยู่ ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม รอบตัว อื่นๆ ด้วย ซึ่งนอกจาก กลางวันที่ยาวนานในบางฤดู อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป ก็ มีอิทธิพล ถ้าปีใด ฤดูใบไม้ผลิล่าช้า การอพยพมาถึงของนก ก็จะล่าออกไปด้วย ทำนองเดียว กัน ถ้าปีไหน ฤดูใบไม้ผลิมาถึงเร็ว การปรากฎตัว ของนกอพยพ ก็จะเร็วตาม ไป ด้วย แต่ทุกสิ่งที่ผิดปกติ จะส่งผลกระทบต่อเนื่อง ถึงกันหมด เช่น พืชที่เป็น อาหารของนกในถิ่นที่เป็นแหล่งทำรัง ต้องอาศัยเวลากลางวันที่ยาวนานกว่าปกติ ในการแพร่กระจายพันธุ์ และ เข้าปกคลุมพื้นที่ แต่ปีใด อุณหภูมิ หรือ อากาศ เกิดวิปริต เช่น เกาะ Jan Mayen Island ซึ่งอยู่กลางมหาสมุทรอาร์ติค เคย เป็น แหล่ง ทำรังวางไข่ของนก กระจ้อยนักร้อง ปีหนึ่งอากาศเปลี่ยนแปลง ฤดูฝน มาล่า นกที่อพยพมาพบว่าพื้นที่ยังปกคลุมด้วยทุ่งน้ำแข็ง เส้นทางการอพยพ ถูกเปลี่ยนไปทันที นกไม่มีการอพยพไปที่เกาะนั้นอีก ถึงแม้จะมีระยะเวลา กลางวันที่ยาวนาน อันเป็นสิ่งกระตุ้นให้มีการอพยพ ยังมีเหมือนเดิม

การที่ฤดูกาล เป็นสิ่งกระตุ้นให้นกอพยพ ยังไม่มีใครทราบ เหตุผล อย่างแท้จริง มีการพยายามอธิบายว่า ภูมิอากาศของสถานที่ที่นกอพยพไป ต้องเหมาะสมสอดคล้องกับ ช่วงเวลาที่นกเริ่มการอพยพ จากต้นทางด้วย เพราะ นกบางชนิด เมื่อทำรังวางไข่ จะมีการผลัดขน ในระหว่างที่นก กำลังฟักไข่ (ที่เห็นชัด คือ เป็ดตัวผู้ ขณะที่เป็ดตัวเมียฟักไข่อยู่นั้น เป็ดตัวผู้ จะรวมฝูงอพยพ ไปหาที่ปลอดภัย เพื่อผลัดขน และ เมื่อขนชุดใหม่งอกเต็ม จะทันเวลาพอดีกับที่ ต้องกลับมาช่วยเป็ดตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อน นอกจากนี้ นกบางชนิดเช่น นกนางแอ่น บ้าน ( Barn Swallow ) จะผลัดขน ในระหว่าง เดินทาง อพยพนั้นเอง สิ่งเหล่านี้ ทั้ง แสงแดดที่ยาวนานในตอนกลางวัน กับ อุณหภูมิที่เหมาะสม ในทั้งสองสถานที่ จะต้องพอเหมาะพอดี สอดคล้องกัน นกจึงจะมีการอพยพ แต่คำถามคือ นกรู้ได้ อย่างไรว่า เมื่ออพยพจากสถานที่หนึ่ง มันจะบ่ายหน้า ไปสถานที่ใด ในระยะ เริ่มแรกของการอพยพ ในอดีต ของพวกหน่วยกล้าตาย รุ่นแรกๆ ก่อนที่รุ่นหลังๆ จะอพยพตามพวกแรกๆไป โดยสัญชาติญาณที่บรรพบุรุษ ฝังไว้ในหน่วยความจำ ทางพันธุกรรม หรือ DNA ของพวกรุ่นหลานของมัน

ข้อมูลเพิ่มเติม (ลิ้งค์ไปยังเว็บไซต์แหล่งที่มา)