.. ........................................................................................................................... Wednesday, November 28, 2012 11:45 AM



























 



 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   เขตสัตว์ภูมิศาสตร์    

เขตสัตว์ภูมิศาสตร์ของโลก แบ่งออกเป็นเขตหลักๆ ได้ ดังนี้


เขต เอธิโอเปียน (Ethiopian or Afro tropical region)

เขตสัตว์ภูมิศาสตร์นี้ครอบคลุมทวีปอัฟริกาตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายซะฮารา อาราเบียตอนใต้ และเกาะมาดากัสการ์โดยแยกจาก เขตพาลีอาร์คติคตบริเวณคลองสุเอช ชนิดของนกที่ปรากฏอยู่ในเขตนี้ ส่วนใหญ่เป็นนกชนิดที่หากินบนพื้นดิน หรือนกชนิดที่กินพืชเป็นอาหาร จำนวนประมาณ 1556 ชนิด 73 วงศ์

เขตออสเตรเลียน (Australian region)

เขตภูมิศาสตร์นี้ ครอบคลุมทวีปออสเตรเลีย ทัสมาเนีย นิวซีแลนด์ นิวกีนี บางเกาะของประทศอินโดเนียเซีและหมู่เกาะแปซิฟิค โดยเฉพาะบริเวณรอบของนิวกินี จะมีจำนวนชนิดของนกกระเต็นมากกว่าเขตอื่นรวมกัน มีนกประมาณ 900 ชนิด 64 วงศ์

เขตพาลีอาค์คติก (Palearctic region)

เป็นเขตสัตว์ภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุด แต่มีจำนวนชนิดนกน้อย และเข้าใจว่าเป็นสถานที่ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของนกทุกชนิดด้วย เป็นนกที่มีนิสัยอพยพย้ายถิ่น มีประมาณ 1026 ชนิด

เขต นีอาร์คติค (Nearctic region)

เขตสัตว์ภูมิศาสตร์นี้ รวมทวีอเมริกาเหนือ และเกาะกรีนแลนด์ นกเขตนี้ส่วนใหญ่เป็นนกย้ายถิ่น มีจำนวนถึง 62 วงค์ 750 ชนิด

เขตนีโอทรอปิคอล (Neotropical region)

เขตสัตว์ภูมิศาสตร์นี้รวมทวีปอเมริกาใต้ เร่มจากประเทศแม็กซิโกลงไป มีนกชนิดโบราณอาศัยอยู่มากกว่าเขตอื่น นกที่พบในเขตนี้มี 86 วงศ์ ประมาณ 2780 ชนิด

เขตโอเรียนตอล (Oriental region)

เขตสัตว์ภูมิศาสตร์นี้ครอบคลุมตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัย ที่ทำหน้าที่แบ่งแยกเขตโอเรียนตอล และเขตพาลีอาร์คติกออกจากกัน และมหาสมุทรแปซิฟิกทำหน้าที่แบ่งแยกเขตโอเรียนตอล และเขตออสเตรเลียออกจากกัน นกที่พบในเขตนี้ มี 961 ชนิด ในจำนวน 66 วงศ์

แหล่งสัตว์ภูมิศาสตร์ของประเทศไทย

ประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ และเส้นรุ้งที่ 20 องศา 30 ลิปดาเหนือ และอยู่ระหว่าง เส้นแวงที่ 97 องศา 20 ลิปดาตะวันออก และเส้นแวงที่ 105 องศา 39 ลิปดาตะวันออก ระยะทาง 1,500 กิโลเมตร จากเหนือจดใต้ และ 806 กิโลเมตร จาก ตะวันออกสุดถึงตะวันตกสุด ตั้งอยู่ในเขต สัตว์ภูมิศาสตร์ เขตโอเรียนตัล ซึ่งเขตนี้มีความหลากหลาย ของนกมากเป็นอันดับสอง รองลงมา จากเขตนีโอทรอปิคัล ของ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ที่ตั้งของไทยอยู่ราวกึ่งกลางของเขต ซึ่งครอบคลุม พื้นที่ของเขตย่อยอินโดจีน และ เขตย่อยซุนดา โดยมีเส้นรุ้งที่ 11 องศา 40 ลิปดาเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตย่อยทั้งสอง และ อยู่ประมาณ คอคอดกระ ของไทย ปริมาณชนิดนก ของไทย มีประมาณ 1 ใน 10 ของนกที่พบทั่วโลก มากกว่านกของทวีป อเมริกาเหนือทั้งทวีป และ มากกว่าทวีปยุโรป ถ้าคิดสัดส่วนกับเนื้อที่ของไทยซึ่งมีเพียง 513,115 ตารางกิโลเมตร เท่านั้น ภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม ในระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง เดือน ตุลาคม ลมมรสุม ตะวันตก เฉียงใต้ จะนำความชุ่มชื้นมาจากมหาสมุทรอินเดีย และ อ่าวไทย มาสู่ผืนแผ่นดินใหญ่ของประเทศไทย จึงเป็นช่วงฤดูฝนของเรา

ประเทศไทยแบ่งแหล่งสัตว์ภูมิศาสตร์ ตาม การกระจายพันธุ์ สภาพพื้นที่ และตามชนิดพรรณพืช ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้เป็นสากล เช่นเดียวกับการแบ่งสัตว์ภูมิศาสตร์ของโลก แต่ เป็นการแบ่งย่อยลงมา โดยแยกเฉพาะเป็นลักษณะของประเทศไทย ซึ่งก็ยังมีอิทธิพล ของแหล่งสัตว์ภูมิศาสตร์โลก ปรากฏให้เห็นอยู่ ทำให้เข้าใจได้ง่ายว่า นกชนิดใดจึงมีอยู่ในภาคนั้น แต่ไม่พบหรือพบน้อยในภาคอื่น

 

ในทางธรณีวิทยา ประเทศไทย แบ่งออกได้ 4 เขต คือ

1. เทือกเขายุคใหม่ ในแนวทิศเหนือ และ ทิศตะวันตก ซึ่งต่อเนื่องมาจากเทือกเขาหิมาลัย
2. ที่ราบลุ่มภาคกลาง ซึ่งเกิดจาการทับถมของโคลนตะกอน ที่ แม่น้ำเจ้าพระยา และ สาขา รวมทั้งแม่น้ำสายอื่นๆ
3. ที่ราบสูงโคราช ซึ่งมีโครงสร้าง เป็น ดินเหนียว และ ดินทราย
4. คามสมุทรมลายู ซึ่งเป็นดินแดนส่วนใหญ่ ของ ภาคใต้ และ มีแนวเทือกเขายุคใหม่ ซึ่ง ต่อเนื่องมาจาก ภาคตะวันตก เป็นแกนกลาง นักวิทยาศาสตร์ มักเรียกพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย จากเส้นรุ้งที่ 11 องศา 40 ลิปดาเหนือ ขึ้นไปว่า Continental Thailand และ เรียกพื้นที่ภาคใต้ จาก เส้นรุ้ง 11 องศา 40 ลิปดาเหนือ ลงมา ว่า Pennisular Thailand

Deignan (1945) ได้แบ่งภาคเหนือออกเป็น 3 ส่วน คือ ภาคเหนือตอนเหนือ ได้แก่บริเวณต้นน้ำของ แม่น้ำ ปิง วัง ยม และ น่าน ในส่วนที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ภาคเหนือตอนตะวันตก ได้แก่ บริเวณด้านตะวันตก ของภูเขาขุนตาลทั้งหมด และ ภาคเหนือ ตอนตะวันออก ได้แก่ บริเวณ ด้านตะวันออกของภูเขาขุนตาลทั้งหมด นอกจากนี้

King
(1975) ยังได้จัดบริเวณจังหวัด เชียงราย ตอนบน เป็นภาคเหนือตอนบนสุดอีกด้วย ในภาคนี้ เนื่องจากสภาพเป็นเขาสูงจึงมีนกในเขตย่อยไซโนหิมาลายัน แพร่กระจายจากแถบเทือกเขาหิมาลัย หลายชนิด เช่น นกนิลตวาใหญ่ นกปีกแพรเขียว ปีกแพรม่วง นกอีแพรดท้องเหลือง นกพิราบเขาสูง นกกินปลีหางยาวเขียว นกศิวะหางสีตาล นกเดินดงเล็กปากยาว และ นกไต่ไม้สีสวย เป็นต้น