home I วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และพลังงาน I ดาราศาสตร์และอวกาศ I ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม I

 

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และพลังงาน

ฐานพระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย

ฐานบันทึกเกียรติยศ

ฐานโลกอนาคต

ฐานเมืองเด็ก

ฐานคมนาคมและขนส่ง

ฐานเปิดโลกพลังงาน

ฐานสวนวิทยาศาสตร์
ฐานเปิดโลกคอมพิวเตอร์
ฐานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์

ฐานเทคโนโลยีเพื่ออาชีพ

ฐานวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

ฐานโบราณสถาน

ฐานพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไท

ฐานอุทยานการศึกษาพระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย

ฐานการแสดงทางวิทยาศาสตร์

กลุ่มการเรียนรู้ : วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน

ฐานคมนาคมและขนส่ง

 



ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้

การขนส่งทางบก

การขนส่งทางน้ำ

การขนส่งทางอากาศ

การขนส่งทางบก
 
การขนส่งทางบก แบ่งออกเป็น ทางรถไฟ และทางรถยนต์ การเดินทางโดยรถไฟ ปลอดภัย สะดวกสบาย แต่ก็ไม่สามารถแวะพักระหว่างทางหรือออกไปนอกเส้นทางได้ แต่การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวสามารถแวะพักตามเส้นทางที่ต้องการได้ ในปัจจุบันมีรถยนต์หลายประเภทบริการรับส่งผู้โดยสาย เช่น รถประจำทาง รถยนต์รับจ้าง (Taxi) รถเช่า การมีรถยนต์หลายประเภท ทำให้การเดินทางสะดวกสบายและสอดคล้องกับความต้องการในการเดินทางมากขึ้น

ในปัจจุบันนอกจากรถไฟที่มีอัตราความเร็วเพิ่มขึ้นกว่าเดิมแล้วความสะดวกสบายก็มีเพิ่มขึ้นกว่าเดิม เพราะในรถไฟมีห้องนอนปรับอากาศ ห้องอาหาร และรายการบันเทิงต่างๆ ดังนั้นผู้โดยสารที่ชื่นชอบกับธรรมชาติสองข้างทางรถไฟ ก็ยังนิยมในการเดินทางด้วยรถไฟ พร้อมกับการพัฒนาเส้นทางรถไฟที่ผ่านเข้าไปยังพื้นที่สูง เช่น ประเทศจีนพัฒนาเส้นทางรถไฟไปสู่ทิเบตเรียกว่าเส้นทางสายชิงไห่ – ทิเบต

รถยนต์ถึงแม้ว่าการขนส่งทางบกได้มีมาแต่โบราณ แต่ยานพาหนะทางบกถูกขับเคลื่อนด้วยแรงงานสัตว์ จนกระทั่งได้มีการผลิตเครื่องจักรไอน้ำขึ้น โจเซฟ คูเยต์ (Joseph Cugnot,ค.ศ.1825-1904) วิศวกรชาวฝรั่งเศล เป็นคนแรกที่ประดิษฐ์ยานยนต์สามล้อ โดยใช้พลังงานจากไอน้ำ ค.ศ.1770 ต่อมา คาร์ล เบนซ์ (Cart Benz , ค.ศ. 1844 – 1929) ชาวออสเตรียและกอตต์เลียน เดมเลอร์ (Gottlieb Daimler , ค.ศ.1834 – 1900 ) ชาวเยอรมัน ได้สร้างรถยนต์โดยใช้พลังงานน้ำมันเป็นแรงขับเคลื่อนเป็นผลสำเร็จ ใน ค.ศ. 1885 นับเป็นรถยนต์คันแรกของโลก ต่อมาเฮนรี ฟอฺร์ด (Henry Ford , ค.ศ.1863 – 1947 ) ชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์รถยนต์ขึ้นเป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ.1896 หลังจากนั้นการผลิตรถยนต์เพื่อการค้าก็เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1901 ต่อมาในปี ค.ศ.1908 ก็ได้มีการสร้างถนนรถยนต์ในประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับในยุโรปก็ได้ปรับปรุงเส้นทางรถม้าเป็นเส้นทางสำหรับถนนรถยนต์ ในปี ค.ศ.1912 ประเทศต่างๆ สร้างถนนรถยนต์มากยิ่งขึ้น

รถไฟฟ้า BTS

ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นระบบขนส่งมวลชนความจุสูงแบบมาตรฐาน ที่ใช้กันแพร่หลายในเมืองใหญ่ทั่วไป ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน วิ่งบนรางคู่ยกระดับ แยกทิศทางไปและกลับโดยมีรางป้อนกระแสไฟฟ้าอยู่ด้านข้าง (Third Rail System) สามารถให้บริการแก่ผู้โดยสารได้มากกว่า 1,000 คนต่อขบวนในขณะที่การเดินทางโดยรถยนต์ต้องใช้รถยนต์จำนวนมากถึง800 คัน เพื่อขนส่งผู้โดยสารในจำนวนที่เท่ากัน นับได้ว่าการให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นการพลิกโฉมรูปแบบการเดินทางและเป็นการปฏิวัติมาตรฐานการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน

นอกจากการให้บริการที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นศูนย์รวมของธุรกิจการค้า ย่านที่พักอาศัยและแหล่งช้อปปิ้งชั้นนำแล้ว เรายังมีโครงการส่วนต่อขยายเพื่อขยายพื้นที่สำหรับให้บริการ และเข้าถึงผู้โดยสารได้มากยิ่งขึ้น

รถไฟฟ้า MRT

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือรถไฟฟ้า MRT คือ โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ที่ได้สะสมต่อเนื่องมาจากการขยายตัวของเมือง และจำนวนประชากรที่มากขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องนับสิบปี

 

พัฒนาโดย อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
science e-learning network Copyright 2012© Last updated November, 2012